วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รีวิวหนังสือ วีรบุรุษมัจจุราช (American Sniper)



ชื่อหนังสือ: วีรบุรุษมัจจุราช (American Sniper)
ผู้แต่ง: Chris Kyle, Scott McEwen, Jim DeFelice
ผู้แปล: ยุทธวีร์ ยุทธวงศ์ชัย
ประเภท: ชีวะประวัติ

ที่ผมซื้อหนังสือเล่มนี้มาเพราะกระแสภาพยนต์เรื่อง American Sniper ตอนแรกนึกว่านิยาย แต่พอเปิดอ่านผ่านๆในร้านหนังสือพบว่าเป็นเรื่องจริง และยังพบข้อความว่าเขาเป็นซีล เป็นชาวเท็กซัส แถมรู้จักมาร์คัส ลูเทร็ลล์ด้วย (เดียววันหลังจะมาเล่าเรื่องของ มาร์คัส จากหนังสือ Lone Survivor จากยุทธการ RED WING ให้อ่านกัน เล่มนั้นมันส์มาก สร้างเป็นหนังแล้วเช่นกัน เป็นเหตุการณ์ที่สูญเสียหน่วย SEAL มากที่สุดในประวัติศาสตร์) เลยมีความสงสัยว่าไอ้คนเท็กซัสทำไมมันถึงชอบสมัครเป็นหน่วยSEAL กันจัง(วะ) (มาร์คัส ก็ชาวเท็กซัส) เลยรีบซื้อมาอ่านทันที

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รีวิวหนังสือ สงครามไซเบอร์ (CYBER WAR)





ชื่อหนังสือ: สงครามไซเบอร์ (CYBER WAR)
ผู้เขียน: Richard A. Clark and Robert K. Knake
ผู้แปล: ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์
ประเภท: สารคดี
    Cyber War เป็นสงครามที่ไม่ต้องมีการเคลื่อนกำลัง ไม่ต้องมีการยิงปืนใหญ่ ทิ้งระเบิด หรือลั่นกระสุนใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแค่อยู่หลังคอมพิวเตอร์ก็สามารถจู่โจมระบบการเงิน ระบบสาธารณูปโภค การขนส่ง หรือแม้กระทั้งทำลายระบบการสั่งการทางทหารของประเทศเป้าหมายได้

รีวิวหนังสือ คิดแบบ ลี กวน ยู

หนังสือ: คิดแบบ ลี กวน ยู
ผู้แต่ง: วริศรา ภานุวัฒน์
ประเภท: ชีวประวัติ

วันนี้ขอเกาะกระแสหน่อยครับ เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 58 ท่าน ลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีของสิงคโปรได้ถึงแก่อสัญกรรม เป็นจุดที่กระตุ้นความสงสัยว่าทำไมประเทศที่มีขนาดเล็กนิดเดียว ใหญ่กว่าเกาะภูเก็ตเล็กน้อย มีประชากรเพียง 3.5 ล้านคน ทั้งยังไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่พอจะใช้เลี้ยงดูคนในชาติ ต้องพึ่งพาน้ำจืดจากมาเลเซีย อาหารจากไทยและจีน ถึงสามารถสร้างชาติเพียไม่กี่ปีขึ้นมาเป็นประเทศโลกที่ 1 ได้ เป็นทั้งศูนย์กลางการค้า การเงิน และเศรษฐกิจลำดับต้นๆ ของโลก




    ลี กวน ยู เป็นผู้นำของสิงคโปร์มา 31 ปี ถือเป็นผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในโลก สิงคโปร์ได้แยกตัวมาตั้งเป็นประเทศเมื่อปี 1965 โดยมี ลี กวน ยู เป็นผู้นำคนแรก เนื่องจากตระหนักว่าประเทศของตนไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะเป็นประเทศผู้ผลิตได้ ท่านจึงตั้งเป้าหมายสร้างชาติด้วยเศรษฐกิจ แต่จะทำได้นั้นคนในชาติจะต้องมีคุณภาพ จึงได้เร่งพัฒนาการศึกษาจนเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีมากประเทศหนึ่งของโลก ระหว่างนั้นก็พัฒนาด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย โดยการเปิดกว้างและส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ โดยมีทีมบริหารที่เป็นมืออาชีพเข้ามาจัดการด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างเต็มที่ โดยนักการเมืองจะควบคุมแค่นโยบายกว้างๆ เท่านั้น จะไม่ก้าวก่ายในการบริหารงานนอกจากนี้ยังพยายามชักจูงให้นักธุรกิจ และนักการจัดการที่มีความสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง โดยยังสามารถถือหุ้นหรือบริหารธุรกิจอยู้ด้วยได้ แต่เมื่อพบว่ามีการทุจริตก็จะดำเนินคดีตามกฎหมาย

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รีวิวหนังสือ ยกเครื่องความคิด (REWORK)



หนังสือ: ยกเครื่องความคิด (REWORK)
ผู้แต่ง: JASON FRIED, DAVID HEINEMEIER HANSSON
ผู้แปล: อาสยา ฐกัดกุล
ประเภท: บริหารธุรกิจ
    หนังสือเล่มนี้ผมได้มาเมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อนแล้ว โดยปกติการซื้อหนังสือของผมคือการไปร้านหนังสือแบบหัวว่างๆ เดินเปิดเดินอ่านไปเรื่อยๆ จนเจอเล่มที่สนใจก็จะซื้อกลับมา แต่เล่มนี้แตกต่างออกไปเพราะผมออกตามล่าเมื่อได้ข่าวว่าวางจำหน่าย เพียงเหตุผลที่ว่ามันถูกเขียนโดยบริษัท 37 Signals ที่เป็นบริษัทที่คิด Ruby on Rails Framwork ขึ้นมาแล้วให้โปรแกรมเมอร์ทั่วโลกได้นำไปใช้ฟรีๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ผมทำงานด้านโปรแกรมมิ่งเป็นหลัก แล้วได้ทดลองใช้ RoR Framwork พบว่าใช้งานได้ดีมาก จนตกลงกันภายในทีมว่าจะใช้ตัวนี้ในการผลิตงานเป็นหลัก ต้องบอกว่าเป็นช่วงชีวิตที่เขียนโปรแกรมสนุกมาก Framwork ทำงานได้ดี เขียนง่าย Productivity ดีมากๆ จนตอนหลังได้รู้ว่าทีมที่พัฒนาฯ ได้เขียนหนังสือธุรกิจบอกถึงแนวทางการทำงานในบริษัทของพวกเขา สาวกอย่างผมจะยอมพลาดได้อย่างไร

รีวิวหนังสือ ปีกแห่งไฟ (WINGS OF FIRE)


หนังสือ: ปีกแห่งไฟ (WINGS OF FIRE)
ผู้แต่ง: A P J Abdul Kalam 
ผู้แปล: สุวิทย์ วิบูลย์เศรษฐ์
ประเภท: ชีวประวัติ


ดร. อับดุล กาลัม ชื่อนี้คุ้นหูผมในฐานะประธานาธิบดีคนที่ 11 ของอินเดีย ผมรู้แค่นั้นและไม่ได้สนใจอะไรอีก

จนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ "ปีกแห่งไฟ" ถึงได้รู้ว่าก่อนที่ท่านจะเป็นประธานาธิบดี ท่านเป็นวิศวกรมาก่อน มีผลงานมากมายจนได้รับยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งจรวดและขีปนาวุธของอินเดีย" ในหนังสือจะเริ่มเล่าเรื่องของท่านตั้งแต่เด็กที่เกิดในครอบครัวชาวทมิฬที่ยากจนทางตอนใต้ของอินเดีย เป็นมุสลิมแต่โชคดีที่ได้อยู่ในสังคมที่ไม่แบ่งแยกระหว่างฮินดู กับมุสลิม

ถึงครอบครัวจะยากจนแต่ก็ใส่ใจในเรื่องการศึกษา พยายามหาทางส่งเสียให้เรียนจนถึงที่สุด จนท่านสามารถเข้าเรียนวิศวกรรมอากาศยาน เมื่อจบมาแล้วได้ผ่านงานมากมายเช่น